วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
·       ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ พลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเมิลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17  ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา
·       จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1.              ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
2.              เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้ง    ของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
1.              การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
2.              การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา
3.              สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน




จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)
     การศึกษาพยายามที่จะช่วยเหลือคนในการปรับตัวได้อย่างดีที่สุดส่วนจิตวิทยาเป็นศาสตร์ คำนึงเกี่ยวกับการปรับตัวของคนดังนั้นจิตวิทยาการศึกษาจะเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวของคนไปปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวดังนั้นหน้าที่สำคัญประการแรกคือการจัดการ เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น
Horace B. English and Ava C. English ซึ่งได้กล่าวถึง ความหมายของจิตวิทยาว่า จิตวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ
- พฤติกรรม (Behavior)
- การกระทำ (Acts)
 - กระบวนการคิด (Mental process)
ไปพร้อมกับการศึกษาเรื่อง สติปัญญา, ความคิด , ความเข้าใจ การใช้เหตุผล การเข้าใจตนเอง (Selfconcept)ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลด้วยจิตวิทยาการศึกษา ซึ้งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษา ให้เข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการ จึงครอบคลุมผู้เรียน ผู้สอน และสิ่งแวดล้อมขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษาจึงมีในเรื่องต่อไปนี้
1. ศึกษาเรื่องประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา แนวคิดของนักจิตวิทยา ที่มีผลต่อการเรียนรู้
2. ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นเรื่อง ความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่อง สติปัญญา ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ และแรงจูงใจ เป็นต้น
3. การเรียนรู้ โดยเน้นศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้ องค์ประกอบของการเรียนรู้ การแก้ปัญหาโดยอาศัยหลักการเรียนรู้ การถ่ายโยง ตลอดจนการจัดสภาพการเรียนรู้ต่าง ๆ
4. การประยุกต์เทคนิคและวิธีการเรียนรู้ โดยผู้สอนเน้นให้ ผู้เรียนสามารถนำ เทคนิคและวิธีการไปใช้ในการเรียนการสอนการแก้ปัญหาในการพัฒนาตน
5. การปรับพฤติกรรม โดยเน้นการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา ไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา โดยใช้หลักการเรียนรู้ เป็นต้น
6. เทคนิคและวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาจิตวิทยา เช่น การสังเกต การสำรวจ การทดลอง และศึกษาเป็น
วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา Good win and Klausmeier ได้กล่าวอยู่ 2ประการ คือ
1 เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมี
ระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
จิตวิทยาการศึกษามีขอบข่ายกว้างขวาง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่น ดังนี้
1. จิตวิทยา (Psychology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และสัตว์ การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาในปัจจุบันใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน
2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการความสนใจของคนในวัยต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็น จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น จิตวิทยาผู้ใหญ่
3. จิตวิทยาสังคม (SocialPsychology) เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม จิตวิทยาสังคมเกี่ยวพันถึงวิชาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมวิทยา (Sociology) และมานุษยวิทยารวมทั้งเกี่ยวพันถึงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมากเป็นต้นว่าการเมืองศาสนาเศรษฐศาสตร์สุขภาพจิต
4. จิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology) เป็นการศึกษาถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคจิต และโรคประสาท ความผิดปกติอันเนื่องจาก ความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น
5.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำความรู้และกฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาแขนงต่างๆมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์หรือนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น นำไปใช้ในการรักษาพยาบาล การให้คำปรึกษาหารือในวงการอุตสาหกรรม การควบคุมผู้ประพฤติผิด เป็นต้น
6. จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of learning) เป็นการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การจำ การลืม รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวขอ้ง
7.จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality) เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัว ของบุคคลที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น ทั้งในด้านแนวคิด ทัศนคติ การปรับตัวและการแก้ปัญหา

ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษามีดังต่อไปนี้
1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม
2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียน การสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้
4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ
5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง
8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข
·       เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล
 การปฏิรูปการศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและให้มีความเป็นธรรมอย่างก้าวกระโดด นั่นก็คือ ผู้นำต้องกล้าผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปแบบโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระสำคัญ และการมองเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นแค่การมีโครงการเพิ่มเติมจากการจัดการศึกษาปกติทำให้ประเทศไทยไม่ได้เข้าใจและปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลอย่างแท้จริง

เป้าหมายของการศึกษาที่ดี
การปฏิรูปการศึกษาเป็นเพียงวิธีการ เป้าหมายคือ การจัดการศึกษาที่ดี ให้ผู้รับการศึกษาได้พัฒนาทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นคนมีทั้งมีความรู้ที่ใช้งานได้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง มีความสามารถในการนำความรู้ที่ได้เรียนมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาทั้งชีวิตตนเอง ชุมชน และสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  6.1 เป้าหมายของการศึกษาที่ดีควรจะเป็นอย่างไร
การปฏิรูปการศึกษาเป็นเพียงวิธีการ เป้าหมายคือ การจัดการศึกษาที่ดี ให้ผู้รับการศึกษาได้พัฒนาทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นคนมีทั้งมีความรู้ที่ใช้งานได้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง มีความสามารถในการนำความรู้ที่ได้เรียนมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาทั้งชีวิตตนเอง ชุมชน และสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเสมอภาค สร้างสรรค์ เป็นพลเมืองที่มีความฉลาดรอบด้านและมีวินัยความรับผิดชอบ รู้จักการใช้ชีวิตและทำงานร่วมกันกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในสังคม มีความสุข มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระดับสูง สามารถพัฒนาอุปนิสัยใจคอ ความคิดความอ่าน พฤติกรรมไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้นการศึกษามีภาระหน้าที่สำคัญในการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษาที่ดี ไม่ใช่แค่เรียนเพื่อสอบที่เน้นความจำและทักษะทางวิชาการและวิชาชีพเท่านั้นแต่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดทั้ง 3 ด้านใหญ่ ๆ ประกอบด้วย
 1. ฉลาดทางปัญญา - เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล สนใจหาหลักฐาน ข้อมูลยืนยัน มากกว่าจะเชื่อด้วยอารมณ์ ความรู้สึกศรัทธาแบบงมงาย มีความรู้ทักษะที่ตนถนัดหรือชอบทำได้ดีพอที่จะสามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้อย่างมีความพอใจ และรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักการแก้ปัญหา การทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยงเป็นระบบองค์รวม
2. ฉลาดทางอารมณ์ - เป็นคนที่รู้จักดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ เช่นการออกกำลังกาย การกินอาหารที่มีคุณค่า การใช้เวลาทำงานและพักผ่อนอย่างไม่เครียด รู้เรื่องเพศศึกษา เรื่องจิตวิทยา ความฉลาดทางอารมณ์ของตัวเองและคนอื่น เช่นรู้จักแก้ปัญหาความขี้อาย และปรับปรุงความเชื่อมั่น ความภูมิใจในตัวเอง การเข้าใจ ควบคุมและสื่อสารเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของตนได้อย่างฉลาด/มีประสิทธิภาพ รู้จักมองโลกในทางบวกอย่างสมจริง รู้จักการควบคุมความเครียดและจัดการกับปัญหาในชีวิต รู้จักหาความสุขความพอใจที่พอเพียงและยั่งยืน รู้จักความอดกลั้น อดทน ปรับตัวให้อึดฮึดสู้ได้แม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก รู้จักคบหาสมาคมและการผูกมิตรกับคนอื่น รู้จักการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกับเพื่อน คู่ครอง ครอบครัว ที่ทำงาน และคนอื่น ๆ
3. ฉลาดทางจิตสำนึกเพื่อสังคม - เป็นคนที่ตระหนักในสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมือง เคารพในตนเองและเคารพคนอื่น เคารพต่อกฎระเบียบประเพณี ศีลธรรมเพื่อส่วนรวม พัฒนาโลกทัศน์ที่ฉลาดในทางสังคม มีความซื่อสัตย์ มีหลักยึดทางจริยธรรมที่มีเหตุผล มีทัศนคติที่ดี มีความเมตตา กรุณาและความหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นอย่างเป็นธรรม เน้นการสามัคคีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เข้าใจว่าการร่วมมือกัน แบ่งปันกันอย่างเป็นธรรม ช่วยเหลือกันและกันคือสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการที่จะช่วยให้สมาชิกทุกคนได้ในชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกันในระยะยาว ได้มากกว่าการเน้นพัฒนาตนเองเพื่อการแข่งขันกับคนอื่นแบบตัวใครตัวมัน รวมทั้งมีจิตสำนึกตระหนักเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนและปัญหาสภาพแวดล้อมทั้งในชุมชน ประเทศและในโลก
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
  • การปฏิรูปแนวทางใหญ่ 5 แนวทาง คือ
1. ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการการศึกษาให้เป็นประชาธิปไตยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการการศึกษาให้มีการกระจายอำนาจความรับผิดชอบไปสู่เขตการศึกษาและสถานศึกษาโดยตรงเพิ่มขึ้น กระทรวงศึกษาธิการไม่ต้องเป็นผู้บริหารสั่งการถึงโรงเรียนโดยตรงแบบเก่า ให้มีสถานศึกษาหลายรูปแบบ เช่น เป็นนิติบุคคลที่มีอิสระแบบโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สถานศึกษาแบบมูลนิธิองค์กรเอกชนที่รัฐให้เงินสนับสนุนแต่คณะกรรมการสถานศึกษาสามารถบริหารได้อย่างเป็นอิสระ สถานศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองท้องถิ่น องค์กรศาสนาและงานการกุศล ฯลฯ
2.ส่งเสริมการพัฒนาครูให้มีคุณภาพและเพิ่มแรงจูงใจให้คนเรียนเก่งมาเป็นครู ด้วยการให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนเก่ง ๆ ที่สนใจจะเรียนเพื่อเป็นครูและรับประกันการมีงานทำ เพิ่มเงินเดือนขั้นต้นให้ครู แต่ต้องจำกัดจำนวน และคัดเลือกคนเก่งและคนที่มีอุปนิสัยและความตั้งใจที่จะเป็นครูแค่จำนวนหนึ่งที่รัฐบาลรับประกันการมีงานทำให้และปฏิรูปการศึกษาวิชาครูให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งเปิดกว้างรับสมัครผู้มีความรู้สาขาต่างๆไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่มาเป็นครูโดยการเข้ารับการอบรมฝึกฝนวิชาครูเพิ่มเติมระยะสั้น และจ่ายเงินเดือนค่าตอบแทนแบบบวกประสบการณ์ให้ได้ แบบเดียวกับภาคธุรกิจเอกชน                                                                                                                                                
3.ปฏิรูปหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองของเด็กวัยต่าง ๆอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปใช้งานรวมทั้งรู้วิธีใฝ่รู้ รักการอ่านการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ต่อไปได้ เช่น การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (WHOLE LANGUAGE) ใช้สื่อหลายชนิด การสอนแบบเชื่อมโยงความหมายเรื่องที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงและความรู้เดิมของนักเรียน การทดลองและฝึกภาคปฏิบัติเพิ่มขึ้น ฝึกการจำแบบเชื่อมโยง (ไม่ใช่จำเป็นส่วนๆ แบบนกแก้วนกขุนทอง) เรียนรู้คิดวิเคราะห์ปัญหาต่างๆสังคมมากขึ้น เรียนรู้จักธรรมชาติของตนเอง เรื่องชุมชน สังคม รวมทั้งธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หลักสูตรควรจัดให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละขั้นตอน และเน้นให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดรวบยอดที่สำคัญ ไม่ใช่ครอบคลุมวิชาจำนวนมากและมีแค่ข้อมูลรายละเอียดที่นักเรียนต้องเรียนแบบท่องจำเพื่อไปสอบ
4. ปฏิรูปการประเมินผลเพื่อเลื่อนชั้นและการคัดเลือกคนเข้าสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะการสอบเข้าเป็นแนวหม่ โดยเน้นเป้าหมายเพื่อช่วยพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคนมากกว่าการเน้นเรื่องใครแพ้ถูกคัดออก การประเมินผลที่ดีควรยืดหยุ่นหลากหลายกว่าการสอบแบบมาตรฐานที่ทุกคนต้องมาสอบเหมือนกัน และคิดเป็นคะแนนสูงต่ำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อคัดคนส่วนน้อยไปเรียนต่อ วิธีการสอบแบบแข่งขัน แม้จะจำเป็นในการคัดเลือกคนที่เหมาะสมให้ได้ไปเรียนสูงขึ้น แต่เป็นผลเสียทางจิตวิทยาสำหรับเด็กที่ได้คะแนนต่ำ ซึ่งเป็นเด็กส่วนใหญ่ ทำให้พวกเขาขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง และยิ่งเรียนรู้พัฒนาตัวเองได้น้อยลงไปอีก เป็นผลเสียต่อการพัฒนาประชาชนส่วนใหญ่ ตัวอย่างของประเทศฟินแลนด์ที่นักเรียนมีผลการเรียนรู้สูง ครูและผู้อำนวยการแต่ละโรงเรียนจะเป็นผู้ร่วมกันประเมินนักเรียนเอง ตามพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน จะมีการสอบมาตรฐานระดับชาติเฉพาะตอนนักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น
5. ปฏิรูปศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง (SELF DIRECTED LEARNING)
การจะปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองอย่างมากด้วย ผู้ใหญ่ควรช่วยกันทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โดยถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด เพราะจะช่วยทำให้เป้าหมายการเรียนเก่งและการเป็นคนดีเป็นไปได้มากขึ้น การวิจัยพบว่า เด็กที่มีความสุขจะเรียนและสอบได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ค่อยมีความสุข พวกเขาจะกระตือรือร้นมากกว่า มีความมานะอดทนมากกว่า มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่า มีสมาธิมากกว่า และเข้ากับทั้งเพื่อนและครูได้ดีกว่า






·       ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษามีดังต่อไปนี้

             1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม

             2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

             3.ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้

             4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ

             5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด

             6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น

             7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง

             8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข
ขอบข่ายของจิตวิทยา
      1. จิตวิทยาทั่วไป (general or pure psychology) เป็นจิตวิทยาที่มุ่งศึกษาถึงกฎเกณฑ์ ทฤษฎีพื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมโดยทั่วไปของมนุษย์
        2. จิตวิทยาทดลอง (Experimental psychology) เป็นจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละด้าน เช่น การเรียนรู้ การจำ การลืม โดยใช้การทดลองเป็นหลักสำคัญในการศึกษาและนำผลที่ได้จากการทดลองไปสร้างเป็นทฤษฎีและกฎเกณฑ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิชาแขนงต่าง ๆ
        3. จิตวิทยาเชิงสรีรวิทยา (Physiological psychology) เป็นจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์อันเป็นพื้นฐานของการเกิดพฤติกรรมโดยเน้นเกี่ยวกับโครงสร้างหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมโดยเฉพาะ
        4. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental psychology หรือ genetic psychology)เป็นจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่เริ่มต้นการปฏิสนธิ การเจริญเติบโตและการพัฒนาการของมนุษย์ในระยะต่าง ๆ ตลอดจนอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาสมาชิกใหม่ตั่งแต่แรกเกิดเพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป
        5. จิตวิทยาสังคม (Social psychology) เป็นจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในสังคม งานของนักจิตวิทยาสังคมส่วนใหญ่จึงเป็นการศึกษา สำรวจมติมหาชน การเกิดและการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ตลอดจนค่านิยมของแต่ละเชื้อชาติและวัฒนธรรมเพื่อสรุปเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีสำหรับอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ในแต่ละสังคม
        6. จิตวิทยาการศึกษา (Education psychology) เป็นจิตวิทยาที่นำเอากฎเกณฑ์และทฤษฎีทางจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ตรงตามปรัชญาการศึกษา
        7. จิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) เป็นจิตวิทยาที่ศึกษาถึงสาเหตุความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมของบุคคล เพื่อหาทางบำบัดรักษาบุคคลที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม และมีอาการป่วยทางจิตใจ รวมทั้งหาวิธีป้องกันแก้ไข ตลอดจนส่งเสริมให้คนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
        8. จิตวิทยาให้คำปรึกษา (Counseling psychology) เป็นจิตวิทยาที่ศึกษาถึงเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บุคคลที่กำลังประสบปัญหาได้เข้าใจและเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงไป
        9. จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial psychology) เป็นจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานของบุคคลในโรงงานอุตสาหกรรมในแง่ของประสิทธิภาพในการทำงาน วิธีการสร้างขวัญและแรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานตลอดจนวิธีการประเมินผล การทำงานของบุคคลในสถานประกอบการทั้งหลาย ทั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อค้นหากระบวนการ และวิธีการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน
        10. จิตวิทยาแปรียบเทียบ (comparative psychology) เป็นการศึกษาเรื่องความเหมือนและความแตกต่างเกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
·       วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา
           1. การตรวจสอบตนเอง หรือการพินิจภายใน   ( Introspection ) หมายถึง วิธีการให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเอง ด้วยการย้อนทบทวนการกระทำและความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีตที่ผ่านมา  แล้วบอกความรู้สึกออกมา โดยการอธิบายถึงสาเหตุและผลของการกระทำในเรื่องต่าง ๆ  เช่น ต้องการทราบว่าทำไมเด็กนักเรียนคนหนึ่งจึงชอบพูดปดเสมอ ๆ ก็ให้เล่าเหตุหรือเหตุการณ์ในอดีต ที่เป็นสาเหตุให้มีพฤติกรรมเช่นนั้น ก็จะทำให้ทราบที่มาของพฤติกรรมและได้แนวทางในการช่วยเหลือแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้
               การตรวจสอบตนเอง จะได้รับข้อมูลตรงตามความเป็นจริงและเป็นประโยชน์ เพราะผู้รายงานที่มีประสบการณ์และอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง หากผู้รายงานจดจำเหตุการณ์ได้แม่นยำ และมีความจริงใจในการรายงานอย่างซื่อสัตย์ไม่ปิดบัง และบิดเบือนความจริง แต่หากผู้รายงานจำเหตุการณ์หรือเรื่องราวไม่ได้ หรือไม่ต้องการรายงานข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบ ก็จะทำให้การตีความหมายของเรื่องราวหรือ      เหตุการณ์ผิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
            2. การสังเกต ( Observation ) หมายถึง การเฝ้าดูพฤติกรรมในสถานการณ์ที่เป็นจริง อย่างมีจุดมุ่งหมาย โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว การสังเกตแบ่งเป็น 2  ลักษณะคือ
                     2.1 การสังเกตอย่างมีแบบแผน ( Formal Observation ) หมายถึง การสังเกตที่มีการเตรียมการล่วงหน้า มีการวางแผน มีกำหนดเวลา สถานการณ์ สถานที่ พฤติกรรมและบุคคลที่จะสังเกต ไว้เรียบร้อย
                     2.2 การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน ( Informal Observation ) หมายถึง การสังเกตโดยไม่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหรือวางแผนล่วงหน้า แต่สังเกตตามความสะดวกของผู้สังเกต
               การสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลละเอียด ชัดเจน และตรงไปตรงมา เช่น การสังเกต อารมณ์ ความรู้สึกของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ จะทำให้เห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนกว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น ๆ แต่การสังเกตที่ดีมีคุณภาพ มีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น ผู้สังเกตจะต้องมีใจเป็นกลางไม่อคติหรือลำเอียงอย่างหนึ่งอย่างใด และสังเกตได้ทั่วถึง ครอบคลุม สังเกตหลาย ๆ  สถานการณ์หลาย ๆ หรือหลายๆ  พฤติกรรม และใช้เวลาในการสังเกต ตลอดจนการจดบันทึกการสังเกตอย่างตรงไปตรงมา และแยกการบันทึกพฤติกรรมจากการตีความไม่ปะปนกัน ก็จะทำให้การสังเกตได้ข้อมูลตรงตาม   ความเป็นจริงและนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมาย
               3. การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี ( Case Study ) หมายถึง การศึกษารายละเอียดต่าง ๆที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบ ทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือแก้ไข ปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทาง สร้างสรรค์ที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบ ทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือแก้ไข ปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทาง สร้างสรรค์
              การสัมภาษณ์ที่ดี จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของผู้ที่ต้องการศึกษาตั้งแต่เรื่องประวัติ เรื่องราวของครอบครัว ประวัติพัฒนาการ ประวัติสุขภาพ ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน ความสนใจ ความถนัด เป็นต้น และในการรวบรวมข้อมูลอาจใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ เข้ามาช่วยด้วย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดสอบ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการประมวลให้ได้ข้อมูลให้ละเอียดและตรงจุดให้มาก ที่สุด
              4. การสัมภาษณ์ ( Interview ) หมายถึง การสนทนากันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีจุดมุ่งหมาย ซึ่งการสัมภาษณ์ก็มีหลายจุดมุ่งหมาย เช่น การสัมภาษณ์เพื่อความคุ้นเคยสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ตลอดจนสัมภาษณ์เพื่อการแนะแนวและการให้คำปรึกษา เป็นต้น แต่ทั้งการสัมภาษณ์ก็เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
              การสัมภาษณ์ที่ดี จำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า วางแผน กำหนดสถานที่ เวลาและเตรียมหัวข้อหรือคำถามในการสัมภาษณ์ และนอกจากนั้นในขณะสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์ควรจะใช้เทคนิคอื่น ๆ ประกอบด้วยก็ยิ่งจะได้ผลดี เช่น การสังเกต การฟัง การใช้คำถาม การพูด การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์ ก็จะช่วยให้การสัมภาษณ์ได้ดำเนินไปด้วยดี
5. การทดสอบ ( Testing ) หมายถึง การใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะ        พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง หรือหลาย ๆ พฤติกรรม โดยให้ผู้รับการทดสอบเป็นผู้ตอบสนองต่อแบบทดสอบซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบภาษาและแบบปฏิบัติการหรือลงมือทำ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นตามจุดมุ่งหมายที่ผู้ทดสอบวางไว้แบบทดสอบที่นำมาใช้ในการทดสอบหาข้อมูลก็ได้แก่ แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบทดสอบความสนใจ     เป็นต้น
              การทดสอบก็มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อผลของข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งแบบทดสอบที่นำมาใช้ควรเป็นแบบทดสอบที่เชื่อถือได้เป็นมาตรฐาน ตลอดจนการแปรผลได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
           6. การทดสอบ ( Experiment ) หมายถึง วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ มีขั้นตอนและเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้ ตั้งปัญหา ตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล        การทดสอบสมมุติฐาน การแปลความหมายและรายงานผล ตลอดจนการนำผลที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมต่อไปการทดลองจึงเป็นการจัดสภาพการณ์ขึ้นมา เพื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มหรือสถานการณ์